ชื่อวิทยานิพนธ์ ศึกษาสภาพการทำงานและความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีสุรนารี
ชื่อนิสิต ประเทืองทิพย์ ไกรวิวัฒน์
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา ผศ ดร สุกัญญา โฆวิไลกูล
ชื่อสถาบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชา วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. ครุศาสตร์ (อุดมศึกษา)
ปีที่จบการศึกษา 2539
บทคัดย่อ(ไทย) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการทำงานและความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ผลการวิจัยจากการศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์ และแบบสอบถามพบว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งเป็นมหาวิทาลัยของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการแห่งแรกของประเทศไทย แต่มีรูปแบบเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล การจัดโครงสร้างและระบบบริหารยึดหลักการกระจายอำนาจที่มีลักษณะปกครองตนเอง การตัดสินใจสั่งการส่วนใหญ่ สิ้นสุดภายในมหาวิทยาลัย มีสภามหาวิทยาลัย และสภาวิชาการเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุด การจัดส่วนงานจัดตามลักษณะงาน ได้แก่ สำนักงานอธิการบดี สำนักวิชา สถาบัน และศูนย์สำหรับการจัดระบบบริหารภายในมหาวิทยาลัยจัดแบ่งออกเป็น 4 ระบบคือ 1) ระบบการเงินและทรัพย์สิน ได้จัดระบบงบประมาณแบบเงินอุดหนุนทั่วไป (Block grant) รายงานการเงินและการตรวจสอบภายหลัง 2) ระบบการบริหารบุคคล ใช้ระบบคุณธรรม ยึดหลักเข้ายากออกง่าย และได้ใช้ระบบการประเมินผลการปฏิบัติการมาใช้ 3)ระบบบริหารวิชาการ ได้จัดวางระเบียบการศึกษาและระบบบริหารวิชาการที่เอื้อต่อการผสมผสานวิชาการในลักษณะพหุวิทยา และบูรณาการ รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทางทฤษฎีและการปฏิบัติในลักษณะสหกิจศึกษา 4) และระบบการจัดการทั่วไปได้จัดระบบการจัดการด้านบริหารและบริการโดยยืดหลัก "รวมบริการประสานภารกิจ" และการถ่ายโอนงานให้ภาคเอกชนร่วมดำเนินการจากการจัดระบบบริหารงานภายในดังกล่าวช่วยให้การดำเนินงานมีความคล่องตัว ช่วยประหยัดทรัพยากรและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในส่วนความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พบว่า ในภาพรวมบุคลากรสายวิชาการมีความพึงพอใจในระดับมาก แต่เมื่อนำมาจัดลำดับความพึงพอใจในแต่ละด้านแล้วบุคลากรมีความพึงพอใจมากที่สุดโดยเรียงตามลำดับจากมากที่สุด ดังนี้ 1.) ลักษณะงานที่ทำ2.) สภาพแวดล้อมในการทำงาน 3.) การบริหารงานของผู้บังคับบัญชาขั้นต้น 4.) ค่าจ้างและสวัสดิการ 5.) ความมั่นคงและความก้าวหน้าในการทำงาน สำหรับบุคลากรสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป ในภาพรวมพบว่า บุคลากรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากแต่เมื่อนำมาจัดลำดับพบว่า มีความพึงพอใจมากที่สุดโดยเรียงตามลำดับจากมากที่สุด ดังนี้ 1.) สภาพแวดล้อมในการทำงาน 2.) ลักษณะงานที่ทำ 3.) การบริหารงานของผู้บังคับบัญชาขั้นต้น 4.) ค่าจ้างและสวัสดิการ 5.) ความมั่นคงและความก้าวหน้าในการทำงาน ขอเสนอแนะ ผลจากการวิจัยพบว่าในเรื่องของระบบงานไม่มีปัญหาแต่ว่ามีปัญหาที่เกิดจากบุคลากรยังไม่เข้าใจระบบและบางหน่วยงานยังขาดการกำหนดขอบเขตงานและคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ดังนั้นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ควรจัดอบรมบุคลากรทุกระดับให้เข้าใจระบบ ตลอดจนจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานให้ครบทุกหน่วยงาน ในส่วนของมหาวิทยาลัยในระบบควรนำระบบรวมบริการประสานภารกิจมาดัดแปลงใช้เพื่อให้ได้ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพ
ชื่อวิทยานิพนธ์ ทัศนะของครูและผู้บริหารโรงเรียนเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล : โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา
กลุ่มที่ 23 สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อนิสิต กนกรส วงษ์เล็ก
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา รศ พวงเพชร วชิรอยู่ อ ทิพทินนา สมุทรานนท์ ผศ ปนัดดา อินทร์พรหม
ชื่อสถาบัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชา วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต (จิตวิทยาอุตสาหกรรม). จิตวิทยา (จิตวิทยา
อุตสาหกรรม)
ปีที่จบการศึกษา 2539
บทคัดย่อ(ไทย) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ ทัศนะของครูกับผู้บริหารโรงเรียน ด้านการบริหารงานบุคคล และ ศึกษาสภาพปัญหาของการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนเอกชนกลุ่ม ที่ 23 เขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วยครู 275 คน ผู้บริหารโรงเรียน 90 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบ่งเป็น 2 ตอน เพื่อศึกษาทัศนะของครูกับผู้บริหารโรงเรียนและ สภาพปัญหาของการบริหารงานบุคคลสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และ t-test โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS-x ผลการวิจัยพบว่า (1) ทัศนะของครูและผู้บริหารโรงเรียน เกี่ยวกับการบริหารบุคคล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ทั้ง 4 ด้าน การได้มาซึ่งบุคลากร, การบำรุงรักษา บุคลากร, การพัฒนาบุคลากร และการให้บุคลากรพ้นจากงาน (2) เมื่อพิจารณารายด้าน ครูมีทัศนะเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลอยู่ ในระดับปานกลางทุกด้าน ส่วนผู้บริหารโรงเรียนมีทัศนะเกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคลอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน ได้แก่ การได้มาซึ่ง บุคลากร การบำรุงรักษาบุคลากร การพัฒนาบุคลากร และมีทัศนะ ที่อยู่ในระดับปานกลางเพียงด้านเดียว คือ การให้บุคลากรพ้นจากงาน 3) สภาพ ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ที่สำคัญมีดังนี้ 1. การได้มาซึ่งบุคลากรนั้น โรงเรียนไม่มีเกณฑ์มาตรฐานใน การรับบุคลากรเข้าทำงาน การรับสมัครบุคลากรขาดการประชา สัมพันธ์ การคัดเลือกบุคลากรมีการใช้สิทธิพิเศษ และบุคลากรที่ บรรจุเข้าทำงานมีวุฒิไม่ตรงกับสายงาน 2. การบำรุงรักษา บุคลากร มีการพิจารณาความดีความชอบและการประเมินผลงาน ที่ไม่เหมาะสม มีครูหลายคนที่ปฏิบัติหน้าที่ไม่ตรงกับความรู้ความ สามารถของตนเอง และบุคลากรมีความขัดแย้งไม่มีความสามัคคี มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก 3. การพัฒนาบุคลากร โรงเรียนไม่เปิด โอกาสหรือสนับสนุให้กับบุคลากรในเรื่องการสร้างสรรค์ผลงาน ไม่มี การวางแผนพัฒนาบุคลากร บุคลากรขาดความกระตือรือร้นในการ ทำงานและขาดการติดตามประเมินผลการพัฒนาบุคลากร 4. การให้ บุคลากรพ้นจากงาน มีการลาออกกลางคันของครู ทำให้มีจำนวนครู สอนไม่เพียงพอ การโอน ย้ายบุคลากร มีมากเกินไป โรงเรียน ไม่มีหลักเกณฑ์ในการให้บุคลากรพ้นจากงาน และไม่เปิดโอกาสให้ บุคลากรที่พ้นจากงานได้แสดงความคิดเห็น
ชื่อวิทยานิพนธ์ การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2
ชื่อนิสิต นิตยา นิลรัตน์
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา ผศ. รุ่ง เจนจิต, Ed.D.
ชื่อสถาบัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชา วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. ศึกษาศาสตร์ (การบริหารการศึกษา)
ปีที่จบการศึกษา 2547
บทคัดย่อ(ไทย) วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 2) เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 23) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 ตามขนาดโรงเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 จำนวน 223 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 223 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์คืน จำนวน 203 ฉบับคิดเป็นร้อยละ 91.03 วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยวิธีการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า สภาพการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนขนาดเล็กผู้บริหารโรงเรียนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด คือ การจัดบุคลากรเข้าปฏิบัติงาน ปฏิบัติในระดับมาก4 ด้าน คือ การวางแผนบุคลากร การบำรุงรักษาบุคลากร การพัฒนาบุคลากร การประเมินผลการปฏิบัติงาน ส่วนที่มีการปฏิบัติในระดับปานกลาง 2 ด้าน คือ การสรรหาและการคัดเลือกบุคลากรและการให้บุคลากรพ้นจากงาน ส่วนโรงเรียนขนาดใหญ่ พบว่า ผู้บริหารมีการปฏิบัติในระดับมากทุกด้าน ยกเว้น การจัดบุคลากรเข้าปฏิบัติงานปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดส่วนปัญหาในการบริหารบุคคลจะมีปัญหาในระดับน้อยเกือบทุกด้าน ยกเว้น การสรรหาและการคัดเลือกบุคลากรมีปัญหาในระดับมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น