ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 135 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .22 - .90 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่าอยู่ระหว่าง .75 - .92 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ในรูปคะแนนดิบและรูปคะแนนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1) ความสำเร็จของการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะองค์การ ปัจจัยลักษณะบุคคล ปัจจัยสภาพแวดล้อม และปัจจัยนโยบายการบริหารและการปฏิบัติ กับความสำเร็จของการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก โดยทุกด้านมีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) สมการพยากรณ์ความสำเร็จของการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สามารถพยากรณ์ความสำเร็จของการบริหารงานบุคคลได้ร้อยละ 70.00 และสร้างสมการณ์พยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้
รูปคะแนนดิบ
= 0.73 + 0.45 (ภาวะผู้นำ) + 0.29 (การติดต่อสื่อสาร) + 0.23 (แรงจูงใจ)
รูปคะแนนมาตรฐาน
Z = 0.38 (ภาวะผู้นำ) + 0.24 (การติดต่อสื่อสาร) + 0.19 (แรงจูงใจ)
ลิ้งค์บทความ
https://drive.google.com/file/d/1MMArzYErVX1Ug0EFIwwi6Y6KPgONMF_i/view?usp=sharing
รายการอ้างอิง
กันยาพร โคจรตระกูล เอกวิทย์ โทปุรินทร และสุเมธ งามกนก (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 36 ฉบับที่ 6 หน้า 155-179.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น