วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

งานวิจัย

 พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคาดหวังของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1-3 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี


Abstract: ความมุ่งหมายของการจัดการศึกษาได้เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นที่การให้การศึกษาเพื่อพัฒนาชีวิต ชุมชน สังคมและประเทศเป็นสาคัญ ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ขึ้น ซึ่งมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารการประถมศึกษาใหม่ กล่าวคือได้มีการโอนโรงเรียนประถมศึกษาจากหลายหน่วยงานมาอยู่ในความรับผิดชอบของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจรับผิดชอบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีโรงเรียนในสังกัดทั้งสิ้น 30,228 โรงเรียน ในโรงเรียนจานวนนี้มีโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจานวนนักเรียนต่ากว่า 120 คนลงมา จานวน 10,735 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 35.53 ของจานวนโรงเรียนทั้งหมด โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จานวน 2,120 โรง (สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2548, หน้า 23) โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาเหล่านี้ส่วนใหญ่มีปัญหา คือ โรงเรียนมีคุณภาพค่อนข้างต่าเมื่อเทียบกับโรงเรียนมัธยมศึกษา เนื่องจากขาดความพร้อมด้านปัจจัย เช่น สภาพครูไม่ครบชั้นเรียน ขาดวัสดุอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนและงบประมาณไม่เพียงพอในการบริหารจัดการ ทั้งนี้เนื่องจากข้อจากัดเกี่ยวกับเกณฑ์การจัดอัตรากาลังครูและข้อจากัดด้านงบประมาณภาครัฐ ภายใต้ข้อจากัดและสภาพปัญหาดังกล่าว สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้กาหนดนโยบายแนวทาง มาตรการดาเนินงานและการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตลอดจนรูปแบบการดาเนินการ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลการปฏิบัติงานในพื้นที่อย่างจริงจัง 2 และความเชื่อที่ว่าถ้าได้มีการนานวัตกรรมทางการบริหารจัดการและการเรียนการสอนที่ถูกต้องเหมาะสมมาใช้ จะทาให้การ แก้ปัญหา และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาบรรลุตามเป้าหมายได้ ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่จะส่งเสริมให้โรงเรียนมีประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา คือ การพัฒนาครูผู้สอนให้มีประสิทธิภาพด้วยการบูรณาการการจัดการเรียนรู้ให้หลากหลายครอบคลุม ผู้บริหารโรงเรียนควรสร้างขวัญกาลังใจให้แก่ครูในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เนื่องจากโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาหลายแห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล กันดาล และมีข้อจากัดทั้งด้าน งบประมาณ บุคลากร สื่อวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน ซึ่งการบริหารจัดการศึกษาในยุคปัจจุบันผู้บริหารสถานศึกษาในฐานะผู้นาของสถานศึกษาที่มีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษาโดยตรง จะต้องเป็นผู้นาการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบและกระบวนการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งหมายถึงต้องมีการบริหารจัดการ ให้การส่งเสริมสนับสนุนให้ครูทุกคนสามารถจัดการศึกษา อบรมนักเรียนให้มีคุณภาพตามเป้าหมาย ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องแสดงพฤติกรรมในการที่จะจูงใจและสร้างขวัญกาลังใจให้แก่บุคลากรร่วมกันดาเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังที่ ผู้บริหารจะต้องใช้ความสามารถ ในการบริหารงานให้เป็นที่ประจักษ์ โดยการแสดงออกด้านพฤติกรรมความเป็นผู้นา มุ่งมั่น ตั้งใจ ด้วยการชักนาให้ครูและบุคลากรปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถอย่างแท้จริง


มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: กาญจนบุรี
Email: tdc@kru.ac.th

Issued: 2552
Modified: 2554-08-26
Issued: 2554-08-26

วิทยานิพนธ์/Thesis

application/pdf




ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เปรียบเทียบภาวะผู้นาเหนือผู้นาของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของข้าราชการครู จาแนกตามประสบการณ์ในการทางานและวุฒิการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครูสังกัดสานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รวมทั้งสิ้น 224 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เกี่ยวกับภาวะผู้นาเหนือผู้นาของผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวคิดของแมนซ์และซิมส์ จานวน 60 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการของ เชฟเฟ่ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ภาวะผู้นาเหนือผู้นาของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนโสตศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนรายด้านอยู่ในระดับมาก 6 ด้าน เรียงตามลาดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ การแสดงเป็นแบบฉบับให้บุคลากรเป็นผู้นาตนเอง การกระตุ้นให้บุคลากรตั้งเป้าหมายด้วยตนเอง การทาให้บุคลากรเป็นผู้นาตนเอง การอานวยความสะดวกให้เกิดวัฒนธรรมของผู้นาตนเอง การสนับสนุนให้เกิดภาวะผู้นาตนเองโดยการสร้างคณะทางาน การสร้างรูปแบบความคิดในทางบวก ส่วนด้านการอานวยความสะดวกให้เกิดภาวะผู้นาตนเองโดยให้รางวัลและการตาหนิทางสร้างสรรค์อยู่ในระดับปานกลาง 2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นาเหนือผู้นาของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตามความคิดเห็นของข้าราชการครู จาแนกตามประสบการณ์ในการทางานและวุฒิการศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Kanchanaburi Rajabhat University.
Address: KANCHANABURI
Email: tdc@kru.ac.th
Issued: 2550
Modified: 2562-07-25
Issued: 2554-09-24
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/octet-stream


การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมของผู้นำท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดอุตรดิตถ์

Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมของผู้นำท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และกรรมการโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามจำนวน 1 ฉบับ โดยมีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามทั้งฉบับ α = .92 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย โดยมีค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ศึกษาได้แก่ ปัจจัยภายในตนเองของผู้นำท้องถิ่น 4 ปัจจัย ประกอบด้วย วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ ความสนใจ และอาชีพ ต่างส่งผลต่อความพร้อมของผู้นำท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งโดยภาพรวมและรายด้าน 3 ด้าน คือ ด้านให้ความเห็นชอบนโยบายและแผนการจัดการศึกษาและการจัดหลักสูตรท้องถิ่น ด้านเสนอแนะการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา และด้านการสนับสนุน กำกับ ติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษา แต่ที่ส่งผลและมีค่าความสัมพันธ์แตกต่างกันจากปัจจัยอื่นคือ ปัจจัยอาชีพ โดยปัจจัยอาชีพนั้น ส่งผลต่อความพร้อมน้อยมาก และมีความสัมพันธ์กับความพร้อมของผู้นำท้องถิ่น ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ดังข้อสรุปต่อไปนี้ 1. ความพร้อมของผู้นำท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในทางบวกกับปัจจัยประสบการณ์มากที่สุด มีค่าความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาได้แก่ ความสนใจ และวุฒิการศึกษา ซึ่งก็มีค่าความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน ส่วนความสัมพันธ์กับปัจจัยอาชีพนั้นมีความสัมพันธ์น้อยที่สุด มีค่าความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ เมื่อพิจารณารายด้านในทุก้าน ได้แก่ ด้านให้ความเห็นชอบนโยบายและแผนการจัดการศึกษาและการจัดหลักสูตรท้องถิ่น ด้านการเสนอแนะการบริหารจัดการของสถานศึกษา และด้านการสนับสนุนกำกับติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษา พบว่าความพร้อมในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาพื้นฐานในทุกด้านมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับปัจจัยภายในตนเอง ของผู้นำท้องถิ่นด้านประสบการณ์มากที่สุด มีค่าความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ 2. กลุ่มตัวพยากรณ์ที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ของการพยากรณ์ความพร้อมผู้นำท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดอุตรดิตถ์โดยภาพรวม ได้แก่ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ และความสนใจ เป็นกลุ่มตัวพยากรณ์ที่ดีและสามารถสร้างสมการได้มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ .497 ค่าความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ (S.E.est) เท่ากับ .572 มีอำนาจในการพยากรณ์ (R2) ได้ร้อยละ 24.7 เมื่อพิจารณารายด้านในทุกด้าน ได้แก่ ด้านให้ความเห็นชอบนโยบายและแผนการจัดการศึกษาและการจัดหลักสูตรท้องถิ่น ด้านการเสนอแนะการบริหารจัดการของสถานศึกษา และด้านการสนับสนุนกำกับติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษา พบว่ากลุ่มตัวพยากรณ์ที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ของการพยากรณ์ความพร้อมของผู้นำท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในรายด้านทุกด้าน ได้แก่ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ และความสนใจเป็นกลุ่มตัวพยากรณ์ที่ดีและสามารถสร้างสมการได้เช่นเดียวกัน
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์
Created: 2544
Modified: 2549-08-09
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
ISBN: 974-8174-34-4







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Link และ QR Code เข้าห้องเรียน Google classroom

  Link เข้า ห้องเรียน Google classroom https://classroom.google.com/c/NDc0ODgyOTg1NDEy?cjc=gd3udqa QR Code   เข้า ห้องเรียน Google classroom